บันทึกอนุทินครั้งที่ 4
Inclusive Education Experiences Management for Early Childhood
วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวม
อาจารย์ผู้สอนอาจารย์ ตฤณ แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี วันอังคาร ที่ 27 มกราคม 2558
เข้าสอนเวลา 14:10-17:30 น.
**กิจกรรมวันนี้**
อาจารย์สอน!!!!!!
1 เรื่อง**การจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ**
-เด็กที่มีความต้องการพิเศษทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาสในการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความต้องการพิเศษของเขา
=การเรียนร่วมบางเวลา (Integration)
-การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปติได้บางเวลาก็คือการที่เด็กพิเศษเข้าไปเรียนในช่วงใดช่วงหนึ่ง ของการจัดกิจกรรม
เช่น 1).กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ(กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่เด็กพิเศษจะชอบมากที่สุดเพราะว่าเคขาได้เต้นได้ทำตามจินตนาการได้รับความสนุกสนาน)
2.)กิจกรรมดนตรี
3.)กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์
-เด็กพิเศษได้มีโอกาสแสดงออกและมีปฎิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กปกติ
-เป็นเด็กพิเศษที่มีความพิการระดับปานกลางถึงระดับมากจึงไม่อาจจะเรียนร่วมเต็มเวลาได้ พอเรียนเสร็จก็นำกลับไปเรียนที่โรงเรียนการศึกษาพิเศษเหมือนเดิมเพราะว่าเด็กเป็นเด็กที่มีอาการปานกลางถึงหนักมากทำให้มาเรียนร่วมกับเด็กปกติได้ในบางเวลาและบางช่วงกิจกรรมเท่านั้นและการมาเรียนร่วมเด็กไม่สามารถที่จะมาเรียนได้เองจะต้องเป็นครูที่โรงเรียนการศึกษาพิเศษพามาเรียนเท่านั้น
=รูปแบบการจัดกาศึกษา
-การศึกษาปกติทั่วไป(Regular Education) เป็นการศึกษาแบบแรกและแบบเดียวในสมัยนั้นเพราะว่าเป็นแบบโบราณที่สุด
-การศึกษาพิเศษ(Special Education) เป็นการศึกษาที่รัฐบาลเริ่มจัดตั้งขึ้นมาเพื่อที่ให้เด็พิเศษได้ับการศึกษาเหมือนเด็กปกติเพราะว่าแต่ก่อนผู้ปกครองไม่ให้กล้าและไม่ยอมรับและไม่กล้าที่จะพาลูกออกมาข้างนอกเด็กพิเศษเหล่านี้จะถูกอยู่แบบซุกซ้อนและสังคมยังไม่ยอมเปิดใจที่จะยอมรับและให้การศึกษาเพราะว่าอีกอย่างก็ยังไม่มีโรงเรียนที่เป็นการสอนแบบเรียนร่วมหรือเรียนรวมเลยจึกทำให้รัฐบาลเปิดโอกาสในการศึกษาให้กับเด็กพิเศษเหล่านี้และต่อมาก็?
-เปิดการศึกษาแบบเรียนร่วม(Integrated Education หรือ Mainstreaming) เป็นการศึกษาแบบเรียนร่วมตามเวลาเป็นการเปิดโอกาศเพียงส่วนหนึ่งให้เด้กพิเศษมาทำกิจกรมและปรับตัวให้คุ้นเคยกับเด็กปกติเพื่อที่จะทำให้เด็กปกติเกิดการยอมรับและให้โอกาส
-การศึกษาแบบเรียนรวม(Inclusive Education) เป็นการศึกษาที่เด็กปกติและเด็กพิเศษเรียนรวมกันและอยู่ในสังคมเดียวกันได้เด็กปกติจะต้องยอมรับได้ที่จะคิดว่าคนทุกคนมีความเท่าเทียมกันไม่สามารถที่จะแบ่งชนชั้นกันได้และเด็กพิเศษก็จะต้องปรับเข้ากับเด้กปกติด้วยเช่นกัน
=ความหมายของกาศึกษาแบบเรียนร่วม (Integrated Education หรือ Mainstreaming)
-การจัดให้เด็กพิเศษเข้าไปในระบบการศึกษาทั่วไป
-มีกิจกรรมที่ให้เด็กพิเศษกับเด็กทั่วไปทำร่วมกัน
-ใช้ช่วงเวลาช่วงใดช่วงหนึ่งในแต่ละวันก็คือให้เด็กพิเศษมาเรียนร่วมในห้องเรียนกับเด็กปกติมาทำกิจกรiมบางช่วงเวลาสัก 1-2 ชั่วโมงและพากลับไปศูนย์การศึกษาพิเศษเช่นเดิม
- ครูปฐมวัยและครูการศึกษาพิเศษร่วมมือกัน
=การเรียนร่วมเต็มเวลา( Mainstreaming)
-การจัดให้เด็กพิเศษเรียนมนโรงเรียนปกติตลอดเวลาที่เด็กอยู่ในโรงเรียน
-เด็กพิเศษที่จะได้รับการจัดกระบวนกาเรียนรู้และบริกานอกห้องเรียนเหมือนเด็กปกติเด็กที่จะสามารถเรียนร่วมเต็มเวลาได้ก็คือเด็กที่มีความพิการอยูในระดับน้อยหรือขั้นปกติ
-มีเป้าหมายเพื่อให้เด็กเข้าใจซึ่งกันและกันตอบสนองความต้องการซึ่งกันและกันและมีปฎิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน
-เด็กปกติจะยอมรับความหลากหลายของมนุษย์เข้าใจว่าคนเราเกิดมาไม่จำเป็นต้องเหมือนกันทุกอย่างท่ามกลางความแตกต่างกันมนุษย์เราต้องการความรักความสนใจและความเอาใจใส่เช่นเดียวกันทุกคน
=ความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม(Inclusive Education)
-การศึกษาสำหรับทุกคนคือเป็นการศึกษาที่เด็กปกติกับเด็กพิเศษเรียนรวมกันโดยที่ไม่ใช่การเรียนแค่บางเวลาเท่านั้นแต่เป็นการมาเรียนแบบเต็มวันโดยที่ให้เด็กๆทุกคนคิดว่าทุกคนเท่าเทียมกันในสังคมไม่มีใครเหนือกว่าใครทั้งนั้น
-รับเด็กเข้ามาเรียนรวมกันตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษาคือเป็นการศึกษาที่พ่อแม่ผู้ปกครองเป็นคนพาลูกมาเรียนเองตั้งแต่เทอมแรกโดยที่ไม่ใช่เป็นการพามาของทางศูนย์การศึกษาพิเศษพ่อปกครองเป็นคนดูแลเด็กจะมีสถานะเหมือนเด็กปกติและจะไม่อยู่ในเครือข่ายของศูนย์การศึกษาพิเศษใดๆเลยอีกด้วยแต่ว่าจะต้องมีแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษา
-จัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล
=Wilson,2007
-การจัดการเรียนการสอนที่ยึดปรัชญาของการอยู่รวมกัน(Inclusion)เป็นหลัก
-การสอนที่ดีเป็นกาสอนที่ครูกับนักเรียนช่วยกันให้ทุกคนเป็นสมาชิกที่ดีของชุมชน
-กิจกรรมทุกชนิดที่จะนำเข้าไปสู่การสอนที่ดี(Good Teaching) ต้องคิดอย่างรอบครอบเพื่อหาหนทางให้นักเรียนทุกคนสามารถเรียนได้
-เป็นการกำหนดทางเลือกหลายๆทาง
-สรุปเด็กพิเศษกับเด็กปกติเมื่อมาเรียนรวมกันเด็กปกติจะค่อยช่วยเหลือเด็กพิเศษและเด็กพิเศษจะต้องปรับตัวเข้าหาเพื่อนทุกคนด้วยเช่นกัน(ความเท่าเทียมกันในสังคม)
'Inclusive Education is Education for all
It involves receiving people
at the beginning of their education,
with provision of additional services
needed by each individual"
"การศึกษาแบบเรียนรวมเป็นการศึกษาของทุกคน
ที่เด็กทุกคนควรได้รับการศึกษาตั้งแต่เริ่มต้น
นั้นก็คือวัยอนุบาล
และเด็กแต่ละคนมีความต้องการที่แตกต่างกัน
ครูต้องคำนึงถึงว่าเด็กแต่ละคน
และจัดการเรียนให้เหมาะสมกับเด็กแต่ละคน"
=สรุปการศึกษาแบบเรียนรวม
-เป็นการศึกษาที่จัดการศึกษาให้เด็กพิเศษเข้ามาเรียนรวมกับเด็กปกติโดยรับเข้ามาเรียนรวมกันตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษาและจัดให้มีบริการพิเศษตวามความต้องการของแต่ละบุคคลและเด็กพิเศษทุกคนสามารถเรียนรู้และสมารถพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาสในการเรียนรู้ที่เหมาะสมตามความต้องการของเขาและครูไม่ควรที่จะปิดกั้นโอกาสและอย่าตัดสิ้นเด็กแต่ภายนอกโดยที่ไม่รู้เนื้อแท้ของเด็กแต่ละคนให้ดีพอและครูต้องเข้าใจและเปิดใจให้โอกาสเพราะเด็กพิเศษแต่ละคนเขาก็ต้องการโอกาสในการศึกษาทุกคน
=ความสำคัญของการศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
-เด็กปฐมวัยเป็นช่วงเวลาสำคัญที่สุดของการเรียนรู้
-สอนได้
-เป็นการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษที่มีขีดจำกัดน้อยที่สุด
-ช่าวงอนุบาลเป็นช่วงที่สมองของเด็กกำลังคิดและกำลังเรียนรู้ได้ดีและอยากเรียนรู้อยากเห็นชอบถามโน้นถามนี้ วัย0-6 ขวบ ถือว่าเด็กช่วงวัยทองในการเรียนรู้
แต่ถ้าเลย 6 ขวบไแล้วสมองของเด็กก็จะเริ่มค่อยๆหยุดพัฒนาจะลดลงเรื่อยๆถ้าเด็กไม่ได้ถูกพัฒนาให้เรียนรู้เรื่อยตลอดเวลา
บรรยากาศในห้องเรียนและในการทำกิจกรรม
2เรื่อง **บทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม**
=ครูไม่ควรวินิจฉัย
-การวินิจฉัยหมายถึงการตัดสิ้นใจโดยดูจากอาการหรือสัญญานบางอย่างเท่านั้นโดยที่ไม่ทาบความจริงที่แท้จริงก่อนเลยแต่คิดไปเองบ้างแล้วบางส่วน
-จากอาการที่แสดงออกมานั้นอาจนำไปสู้ความเข้าใจผิดได้เพาะว่าครูจะดูแต่แค่ภายนอกเท่านั้นและคืดไปเองและคิดไปก่อนแล้วว่าเด็กคนนี้มีอาการแบบนี้จริงๆแต่ที่จริงแล้วอาจจะไม่ใช่
เพราะหน้าที่นี้ไม่ใช่ของครูแต่เป็นของผู้เชี่ยวชาญและแพทย์เท่านั้น ครูที่ดีควรห้ามตัดสินใจหรือวินิจฉัยเด็กก่อนเด็ดขาด
=ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุประเภทเด็ก
-เพราะจะเกิดผลเสียมากกว่าผลดี
-ชื่อเปรียบเสมือนตราประทับตัวเด็กตลอดไป
-เด็กจะกลายเป็นเช่นนั้นจริงๆ
ครูห้ามตั้งชื่อหรือฉายาให้เด็กเด็ดขาดไม่ว่าชื่อนั้นจะน่ารักหรือไม่ก็ตามเพราะจะทำให้เด็กรู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจว่าทำไหมครูถึงไม่เรียกชื่อเขาไปเรียกชื่ออะไรก็ไม่รู้ดยเฉพาะเด็กพิเศษและครูไม่ควรที่จะดูถูกเด็กเด็ดขาดโดยเฉพาะเด็กพิเศษ
=ครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด็กมีความผิดปกติบางอย่าง
-พ่อแม่ของเด็กพิเศษ มักทาบดีว่าลูกของเขามีปัญหาอยู่แล้วไม่ควรที่จะไปตรอกย้ำในอาการของเด็กอีกจะทำให้ผู้ปครองรู้สึกแย่ไปกว่าเดิมอีกครูควรจะพูดถึงแต่เรื่องดีๆของเด็กที่ทำในวันนั้นแทนว่าเด็กทำอะไรบ้างจะดีกว่าเพราะว่าจะทำให้พ่อแม่ของเด็กรู้สึกดีมากขึ้นกว่าเดิมแทนที่จะไปตรอกย้ำ
=ครูทำอะไรบ้าง
-ครูสามารถชี้ให้เห็นถึงพฤติกรรมของเด็กในเรื่องพัฒนาการด้านต่างๆและให้คำแนะนำในการหาบุคลากรที่เหมาะสมในการประเมินผลหรือวินิจฉัยครูควรสังเกตเด็กอย่างเป็นระบบและจดบันทึกพฤติกรรมเด็กเป็นช่วงๆ
=สังเกตอย่างมีระบบ
-ไม่มีใคสามารถสังเกตอย่างมีระบบได้ดีกว่าครูเพราะว่าครูเห็นเด็กในทุกสถานการณ์ต่างๆที่เด็กทำครูสาขาไหนก็สังเกตเด็กได้ไม่ดีเท่ากับครูปฐมวัยเพราะว่าครูปฐมัวยจะอยู่กับเด็กตลอดเวลามากกว่าครูสาขาอื่นและการสังเกตของครูจะแตกต่างจากแพทย์ นักจิตวิทยา ที่จะมุ่งเน้นแต่ปัญหาเท่านั้น
**เป็นครูจะต้องจำทั้งชื่อเล่นและชื่อจริงของเด็กให้ได้ทุกคนเพราะว่าจะทำให้เด็กรู้สึกว่าตัวเองสำคัญและู้สึกปลื้มเพราะว่าเขาคิดว่าการที่ครูจำชื่อเขาได้เป็นเพราะครูรักและเอาใจใส่เขาตลอดเวลาและครูควรจัดลำดับความสำคัญของพฤติกรรมเด็กว่าสิ่งไหนควรแก้ไขและสิ่งไหนควรปล่อยไป**
= การตรวจสอบ
-เป็นการที่จะทราบวาเด็กมีพฤติกรมอย่างไรเพื่อเป็นแนวทางสำคัญที่ทำให้ครูและพ่อแม่เข้าใจเด็กดีขึ้นและบอกได้ว่าเรื่องใดบ้างที่เด็กต้องการความช่วยเหลือ
=ข้อควรระวังในการปฎิบัติ
-ครูต้องไวต่อความรู้สึกและตัดสินใจล่วงหน้าเพื่อที่จะประเมินน้ำหนักความสำคัญของเรื่องราวต่างๆและพฤติกรรมบางอย่างของเด็กที่ไม่ปรากฎให้เห็นเสมอ** ถ้าเห็นว่าพฤติกรรมนั้นไม่ไปขัดขวางการเรียนรู้เขาก็ควรปล่อยไป
=การบันทึกพฤติกรรมเด็ก
-เป็นการบันทึกแบบนับง่ายๆคือกานับพฤติกรมที่เด็กทำมากไปผิดปกติหือพฤติกรรมซ้ำๆที่ทำบ่อยเกินไปมากกว่า 5ครั้งขึ้นไป
-การบันทึกแบบต่อเนื่องคือการบันทึกแบบเป็นเรื่องราวๆยาวๆต่อเนื่องของพฤติกรรมที่เด็กทำ
-การบันทึกแบบไม่ต่อเนื่องคือเป็นการบันทึกแค่บางช่วงเวลาสั้นๆเป็นคำๆ **การบันทึกแบบต่อเนื่องและไม่ต่อเนื่องเป็นการบันทึกที่เป็นระบบ**
=การนับอย่างง่ายๆ
-เป็นการนับจำนวนคั้งของการเกิดพฤติกรรมกี่ครั้งในแต่ละวันกี่ครั้งในแต่ละชั่วโมงและระยะเวลาในการเกิดพฤติกรมเป็นนาทีเป็นวินาทีที่แสดงพฤติกรรมนั้นออกมา
= การบันทึกต่อเนื่อง(เป็นการบันทึกที่ดีที่สุด)
-ให้รายละเอียดได่มากเขียนทุกอย่างที่เด็กทำในช่วงเวลาหนึ่งหือช่วงกิจกรรมหนึ่งและโดยที่ไม่ไปแนะนำช่วยเหลือใดๆ การบันทึกจะใช้สังเกตในกิจกรรมกลางแจ้ง กิจกรรมเสรี กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์
เป็นการบันทึกคำพูดเด็ก
=การบันทึกแบบไม่ต่อเนื่อง
-เป็นการบันทึกลงบัตรเล็กๆและเป็นกาบันทึกสั้นๆเกี่ยวกับพฤติกรรมที่เด็กทำในบางช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง
การบันทึกนี้อาจจะเป็นครูประจำชั้นหรือพี่เลี้ยงก็ได้เพราะเป็นการสังเกตพฤติกรรมแค่พฤติกรรมเดียวและห้ามใช้ความู้สึกส่วนตัวของครูใส่ลงไปเด็ดขาด
= การเกิดพฤติกรรมบางอย่างมากเกินไป
-ครูควรที่จะเอาใจใส่ระดับความมากน้อยของความบกพร่องมากกว่าชนิดของความบกพร่องและพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมที่พบได้ในตัวเด็กทุกคนไม่ควจัดเป็นสิ่งผิดปกติ
=การตัดสินใจ
-ครูควรตัดสินใจด้วยความระมัดระวังและครูห้ามะตัดสินใจพลาดโดยเด็ดขาดเพราะจะทำให้เด็กมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปจากเดิมเพราะคำพูดของครู
-พฤติกรรมของเด็กที่เกิดขึ้นไปขัดขวางการเรียนรู้ของเด็กหรือไม่
**ครูควรพูดก่อนคิดไม่ใช่คิดก่อนพูด**
กิจกรรมที่อาจารย์ให้ทำในห้อง
อาจารย์ให้วาดรูปดอกชบาให้เหมือที่สุดและเก็บรายละเอียดให้ได้มากที่สุด
แบบ
ผลงานที่วาด
การนำไปประยุกต์ใช้
สามารถนำความรู้ต่างๆที่อาจารย์สอนไปปรับใช้ได้ในอนาคตจริงทั้งเรื่องการศึกษาแบบเรียนรวมและเรียนร่วมอีกทั้งบทบามต่างๆในการเป็นครูทั้งเรื่องที่ดีและเรื่องที่คนเป็นครูไม่ควรที่จะไปทำในอนาคตการเป็นครูและได้รู็ความหมาของการศึกษาแบบเรียนรวมและเรียนร่วมว่ามันมีความแตกต่างกันอย่างไรบ้างและควรนำสิ่งไหนไปปรับใช้และไปปะยุกต์ใช้ให้ได้มากที่สุดเพราะว่าการที่เราจะไปเป็นครูไม่ใช่แค่ว่ามีคำนำหน้าว่าครูเท่านั้นเราจะต้องให้ความรู้สิ่งต่างๆที่เป็นความรู้ที่แท้จริงใส่สมองของเด็กเพราะถ้าเราใส่สิ่งผิดๆให้เขาเขาก็จะจำสิ่งผิดๆนั้นไปตลอดชีวิตถ้าเราใส่ความรู้ที่เป็นสิ่งๆดีให้เขาก็จะจำสิ่งที่ดีนั้นไปตลอดชีวิตเช่นกันเพราะเด็กในช่วงวัยที่เราสอนเป้นวัยที่สำคัญที่สุดเพราะเป็นวัยทองแห่งการเรียนรู้และต้องการอยากรู้อยากเห็นชอบ ถามว่า ทำไม อะไร อย่างไร
ประเมินตนเอง
วันนี้ตั้งใจเรียนมากขึ้นกว่าเดิมเรียนเข้าใจตั้งใจฟังสิ่งที่อาจารย์สอนในทุกๆเรื่องโดยที่ไม่คุยกับเพื่อนแต่ก็มีคุยบ้างบางครั้งตอบคำถามที่อาจารย์ถามได้เกือบทุกข้อเพราะว่าตั้งใจเรียนจริงๆและตั้งใจทำกิจกรรมต่างๆที่อาจารย์ให้ทำด้วยความตั้งใจ และแต่งกายเรียบไม่ดื้อไม่ซนพูดน้อยกว่าเดิม ขยันมากขึ้นและจะนำสิ่งที่อาจารย์สอนไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดและวันนี้ก็ยังได้ตัวปั๊บเด็กดีจากอาจารย์ที่อาจารย์ให้ไปย้อมผมแล้วทำตามที่บอกและอาจารย์ให้เพราะว่าทำตามสิ่งที่อาจารย์บอกและทำเพื่ออาจารย์ ดีใจมากค่ะและเทอมนี้จะเอาของรางวัลจากอาจารย์ให้ได้ (ถ้าไม่มีอะไรผิดพลาด)
ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆตั้งใจฟังสิ่งที่อาจารย์สอนเงียบกว่าทุกคั้งที่เรียนจนอาจารย์งงและบอกว่าวันนี้เป็นอะไรน่ารักขึ้นเงียบผิดปกติคุยน้อยลงสอนห้องนี้แล้วสนุกถามอะไรก็ตอบได้แต่ก็มีเพื่อนบางส่วนคุยกันบ้างเล็กน้อยแต่ไม่เสียงดังแต่พอหลังๆมาก็เริ่มสติแตกคุยกันเสียงดังขึ้นแต่ก็ไม่มากเหมือนสัปดาห์ที่ผ่านมาเพื่อนให้ความร่วมมือดีอาจารย์บอกสอนแล้วไม่เหนื่อยและอีกอย่างวันนี้อ.เบียร์ใจดีให้ตัวปั๊มเด็กดีกับเพื่อนๆคนเลย
ประเมินอาจารย์
อาจารย์แต่งกายเรียบร้อบน่ารักเตรียมสื่ออุปกรณ์ในการสอนมาเป็นอย่างดีตั้งใจสอนและมอบความรู้ให้นักศึกษาอย่างเต็มที่มีทั้งบทบาทสมมุติที่อาจาย์แสดงให้ดูอยู่ทุกครั้งที่เรียนอาจารย์น่ารักมากดีใจทุกครั้งที่ได้เรียนด้วยเรียนด้วยแล้วไม่เคลียสเพราะว่าอาจารย์น่ารักพูดเพราะตลอดเรียนด้วยแล้วมีความสุข
และอาจารย์แต่งตัวเรียบร้อยสะอาดและเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับนักศึกษาในการไปปรับใช้ในอนาคตได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น