welcome ยินดีต้อนรับสู้บล็อกเกอร์ของนางสาวเบญจมาศ บริบูรณ์ จ้าจ้า

วันเสาร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2558

สัปดาห์ที่ 9 วันที่ 2  มีนาคม 2558





บันทึกอนุทินครั้งที่ 9
Inclusive Education Experiences Management for Early Childhood
วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวม
อาจารย์ผู้สอนอาจารย์ ตฤณ  แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี  วันอังคาร ที่ 2  มีนาคม  2558 
เข้าสอนเวลา 14:10-17:30 น.






กิจกรรมวันนี้
วันนี้อาจารย์เริ่มต้นชั่วโมงโดยการพูดและปรึกษากัยเรื่องงานบายเนียร์ที่จะจัดขึ้นซึ่งมีปัญหากันอยู่หลายเรื่องที่ไม่เข้าใจกันและอาจารย์ช่วยวานให้กลุ่มของพวกเาช่วยประสานงานกับเพื่อนๆปี3คนอื่นให้มาประชุมปรึกษากันให้เข้าใจโดยต้องมีอาจารย์เข้าไปประชุมด้วยเพื่อให้คำปรึกษา

จากนั้นอาจารย์ก็มีเกทสนุกๆมาให้พวกเาทำเพื่อกระตุ้นสมองคือกิจกรรม "รถไปเหาะแห่งชีวิต"
โดยอาจารย์ถามคำถามทั้งหมด 5ข้อ คือ





 รูปขณะทำกิจกรรมอาจารย์เดินดูว่าใคตอบอย่างไรบ้าง


1.ถ้านักศึกษษจะขึ้นรถไฟเหาะนักศึกษษจะใช้เวลารอคิวนานเท่าไหร่
ตอบ 5นาที

2.เมื่อนักศึกษาขึ้นไปบนถไฟเหาะนักศึกษษจะรู้สึกอย่างไร
ตอบ กลัวหลับตาตลอด

3.เมื่อรถไฟเหาะกำลังจะลงน้ำนักศึกษษจะร้องแบบไหน
ตอบ โอ้ยยยยเย็น

4.ในขณะที่นักศึกษากำลังนั่งม้าโยกแต่ม้าโยกที่นักศึกษานั่งเกิดเสียนักศึกษาจะรู้สึกอย่างไร
ตอบ เป็นไรว่ะ

5ให้นักศึกษาออกแบบรถไฟเหาะที่คิดว่าหวาดเสียวที่สุดในความคิดของตัวเองแบบไหน




รถไฟเหาะของหนูค่ะ


พอตอบเสร็จแล้วอาจารย์เฉลยคำตอบเป็นสิ่งที่ฮือฮามากค่ะ


ในวันนี้อาจารย์สอนเรื่อง.........    
                                                 "การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ"

เด็กพิเศษจะต้องส่งเสริมทักษะดังนี้
1.ทักษะทางสังคม
2ใทักษะภาษา
3.ทักษะการช่วยเหลือตนเอง
แต่วันนีอาจารย์สอนเรื่อง    ทักษะทางสังคม  ก่อน

1.ทักษะทางสังคม 


=สภาพแวดล้อมไม่ได้ส่งมากนักทางสังคมกับเด็กพิเศษแต่มันขึ้นอยู่กับตัวเด็กเองว่าจะปรับตัวหรือไม่ปรับตัวกับสภาพสังคมนั้นๆ
-เด็กพิเศษที่ขาดทักษะทางสังคมไม่ได้มีสาเหตุมาจากพ่อแม่หรือผู้ปกครอง
-การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่ดีไม่ได้เป็นเครื่องรับประกันว่าเด็กมีพัฒนาการต่างๆอย่างมีความสุข

 =กิจกรรมการเล่น
-การเล่นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งกับการเรียนรู้ทักษะทางสังคม
-เด็กจะสนใจกันเองโดนอาศัยของเล่นเป็นสื่อ
-ในช่วงแรกๆเด็กจะไม่มองเด็กคนอื่นเป็นเพื่อน แต่เป็นอะไรอย่างอื่นที่สามารถ สำวจ ผลัก สัมผัส ดึง
(เด็กพิเศษในกาเล่นของเล่นเขาจะมองเพื่อนก่อนว่าเล่นอย่างไร  / เด็กพิเศษจะมีพฤติกรรมแบบว่าถ้ามีสิ่งไหนมากีดขว้างเขาจะกำลังสิ่งนั้นออกไปทันที แต่คนเป็นครูจะต้องค่อยสอนเขาไปเรื่อยๆ/อาการนีมักจะเกิดขึ้นกับเด็กสมาธิสั้นมากที่สุด)


=ยุทธศาสตร์กาสอน
-เด็กพิเศษหลายๆคนไม่รู้วิธีเล่น ไม่รู้ว่าจะเล่นอย่างไร
-ครูเริ่มต้นจากการสังเกตเด็กแต่ละคนอย่างเป็นระบบ
-จะบอกได้ว่าเด็กมีทักษะการเล่นอย่างไร
-ครูจดบันทึก
-ทำแผน IEP
(ครูจะต้องสังเกตเด็กอย่างเป็นระบบและจดบันทึกไว้เสมออย่างละเอียด /ครูต้องจำต้องรู้/เพื่อจะนำไปทำแผน IEP/แผน IEP ไม่จำเป็นต้องเขียนให้เด็กพิเศษเท่านั้นเด็กปกติก็เขียนได้)

=การกระตุ้นการเลียนแบบและการเอาอย่าง
-วางแผ่นกิจกรรมการเล่นไว้หลายๆอย่าง
-คำนึงถึงเด็กทุกคน
-ให้เด็กเล่นเป็นกลุ่มเล็กๆ 2-4 คน แต่จะต้องมีเด็กพิเศษเพียงหนึ่งคนเท่านั้นเพราะว่าจะง่ายต่อการดูแล
-เด็กปกติทำหน้าที่เหมือนครูให้เด็กพิเศษ





=ครูปฎฺิบัติอย่างไรขณะเด็กเล่น
-อยู่ใกล้ๆและเฝ้ามองอย่างสนใจ
-ยิ้นและพยักหน้าให้เมื่อเด็กหันมาหาครู
-ไม่ชมเชยหรื่อสนใจเด็กมากเกินไป
-เอาวัสดุอุปกรณ์มาเพิ่ม เพื่อยืดเวลาการเล่น
-ให้ความคิดเห็นที่เป็นแรงเสริม

=การให้แรงเสริมทางสังคมในบริบทที่เด็กเล่น
-ครูพูดชักชวนให้เด็กเล่น่วมกับเพื่อน
- นำโดยการพูกชักชวนของครูที่น่าสนใจ

=ช่วยเด็กทุกคนให้รู้กฤเกณฑ์
-ไม่ง่ายสำหับเด็กพิเศษ
-การให้โอกาสเด็ก
-เด็กพิเศษเรียนรู้สิทธิต่างๆเหมือนเพื่อนในห้อง
-ครูต้องไม่ใช้ความบกพ่องของเด็กเป็นเครื่องต่อรอง
(เด็กทุกคนในห้องเรียนไม่ว่าจะเป็นเด็กปกติหรือเด็กพิเศษจะต้องมีความเท่าเทียมกันเสมอพากกันโดยที่ครูต้องไม่เห็นว่าเด็กพิเศษไม่สามารถทำอะไรได้แล้วให้สิทธิกับด็กพิเศษก่อนเป็นสิ่งที่ผิด)


กิจกรรมต่อมา อาจารย์แจกชีดเพลงทั้งหมด 6 เพลงให้ร้อง








ผู้แต่งอ.ศรีนวล  รัตนสุวรรณ
เรียบเรียง อ.ตฤณ แจ่มถิน


1.เพลง ดวงอาทิตย์
ยามเช้าตรู่อาทิตย์ทอแสงทอง
เป็นประกายเรืองรอง ผ่องนภา
สว่างไปทั่วแหล่งหล้า บ่งเวลาว่า
กลางวัน

 2.เพลง ดวงจันทร์
ดวงจันทร์ทอแสงนวลใย
สุกใสอยู่ในท้องฟ้า
เราเห็นดวงจันทร์ทรา
แสงพราวตาเวลาค่ำคืน

3.เพลงดอกมะลิ
ดอกมะลิ กลับขาวพาวตา
เก็บเอามาร้อยเป็นมาลัย
บูชาพระทั้งใช้ทำยาก็ได้
ลอยในน้ำ อบขนมหอมชื่นใจ

4.เพลง กุหลาบ
กุหลาบงาม ก้านหนามแหลมคม
จะเด็ดดมระวังกายา
งามสดสีเป็นดอกไม้มีค่า
เก็บเอามาประดับไว้ในแจกัน


5.เพลง นกเขาขัน
ฟังสิฟังนกเขาขันมันขยันคู่
ฟังสิฟังนกเขาขันมันขยันคู่
จุ๊กกรู จุ๊กกรู จุ๊กกรู จุ๊กกรู จุ๊กกรู

6.เพลง รำวงดอกมะลิ
 รำวง รำวง ร่วมใจ 
หอมดอกมะลิที่้ร้อยมาลัย
กลิ่นหอมตามลมไปไกล
หอมกลิ่นชื่นใจ จริงเอย
 

กิจกรรมสุดท้ายในวันนีคือ  ศิลปะบำบัด  ซึ่งอาจารย์ให้จับคู่กัลเพื่อน
แล้วออกมารับอุปกรณ์ คือ กระดาษ สีเทียน  จากนั้นให้ตกลงกับคู่ของตัวเองว่าใคจะเป็นเส้นหรือเป็นจุด
 หนูเป็นเส้นค่ะ และมีข้อตกลงดังนี้คือ





1.ให้ลากเส้นตามจังหวะเพลง แล้วให้เพื่อนอีกหนึ่งคนจุดตามเส้นที่มองเห็นว่าเป็นรูปวงกลม
2.เมื่อเพลงให้นักศึกษาหยุดทันทีและวางอุปรณ์ลง
3.ให้นักศึกษามองว่าเส้นที่ลากและจุกนักศึกษามองเห็นเป็นรูปอะไร


 ผลงานของคู่เรา 






 ผลงานของเพื่อน 









จากนั้นสรุปกิจกรรม 







ศึกษาเพิ่มเติม

ศิลปะบำบัด (art therapy) คือ การบำบัดรักษาทางจิตเวชรูปแบบหนึ่ง ที่ประยุกต์ใช้กิจกรรมทางศิลปะเพื่อค้นหาข้อบกพร่อง ความผิดปกติบางประการของกระบวนการทางจิตใจ โดยใช้ความรู้เกี่ยวกับการประเมินทางจิตวิทยา เพื่อเปิดประตูเข้าสู่จิตใจในระดับจิตไร้สำนึก และเลือกใช้กิจกรรมทางศิลปะที่เหมาะสมช่วยในการบำบัดรักษา และฟื้นฟูสมรรถภาพให้ดีขึ้น
จากแนวคิดที่ว่า ศิลปะ คือ หนทางแห่งการปลดปล่อย อารมณ์ ความรู้สึก ความคิด ตามความต้องการของแต่ละคน เด็กก็เช่นกัน พวกเขาต้องการ สิทธิ เสรีภาพ ที่จะแสดงออกซึ่ง ความต้องการของเขาอย่างมีความสุข พวกเขาต้องการโอกาสที่จะพัฒนา ศักยภาพของตัวเขาเองในด้าน การเรียน การเล่น และการแสดงออกต่างๆ
ศิลปะบำบัด มีประโยชน์ในด้านการพัฒนาอารมณ์ สติปัญญา สมาธิ ความคิดสร้างสรรค์ รวมถึงการช่วยพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก และการประสานงานการเคลื่อนไหวของร่างกาย นอกจากนี้ยังเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วย กระตุ้นการสื่อสาร และเสริมสร้างทักษะสังคมอีกด้วย
ศิลปะบำบัด เป็นรูปแบบหนึ่งของการแพทย์เสริมและทางเลือก (complementary and alternative medicine) ที่เน้นการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม นำมาเสริมในการดูแลรักษาแนวทางหลักให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องมีการประสานงานกันเป็นทีมระหว่างนักศิลปะบำบัดกับแพทย์ที่ดูแลรักษาผู้ป่วย ไม่ใช่รูปแบบการบำบัดรักษาที่สามารถแยกเป็นอิสระได้ ต้องทำไปควบคู่กัน
ศิลปะบำบัด ยังนับเป็นรูปแบบหนึ่งของการทำจิตบำบัด (psychotherapy) ที่ใช้ศิลปะเป็นเครื่องมือสำคัญ เพื่อช่วยเหลือบุคคลที่มีปัญหาด้านอารมณ์และจิตใจ ซึ่งหลักการของศิลปะบำบัด คือใช้ศิลปะเป็นสื่อในการแสดงออกถึงอารมณ์ ความรู้สึก ความขัดแย้ง และความต้องการ ที่ซ้อนเร้นอยู่ภายในส่วนลึกของจิตใจ
การแสดงออกทางผลงานศิลปะ ไม่ว่าจะเป็นลายเส้น สี รูปทรง สัญลักษณ์ อารมณ์ ความหมาย ที่สื่อออกมาทั้งหมดสามารถนำมาวิเคราะห์ให้เห็นถึงความรู้สึกนึกคิดว่าเป็นอย่างไร หรือสภาพจิตมีปัญหาอย่างไร

การประเมินผลการบำบัดรักษาด้วยศิลปะบำบัด เน้นที่ กระบวนการ และกิจกรรมทางศิลปะ ไม่ได้เน้นที่ผลงานหรือคุณค่าทางศิลป


การนำไปประยุกต์ใช้
ทำให้รู้ว่าการส่งเสริมทักษะต่างๆให้กับเด็กนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างมาเพราะว่าเราเป็นครูจะต้องส่งเสริมทักษะเหล่านี้ให้กับเด็กไม่ว่าทักษะทางสังคม ทักษะภาษา ทักษะการช่วยเหลือตนเอง แต่ทักษะทางสังคมนั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมแต่กับขึ้นอยู่กับตัวของเด็กเองมากกว่าเพราะขึ้นอยู่กับเด็กว่าเลือกที่จะปรับตัวหรือว่าไม่ไม่ปรับตัวและเราจะต้องสังเกตและจดบันทึกเด็กอย่างเป็นระบบเป็นบันทึกอย่างต่อเนื่องจนให้รู้แจ้งเห็นจริง และครูควรที่จะจัดกิจกรรมให้เด็กเล่นกันเป็นกลุ่มเพื่อที่จะได้ส่งเสริมทักษะการเข้าสังคมการทำงานเป็นกลุ่มการช่วยเหลือซึ่งกันและกันเพราะเป็นสิ่งที่สำคัญกับเด็กมากๆดีกว่าที่จะให้เขาเล่นเพียงคนเดียวและการแจกของเล่นให้กับเด็กจะต้องมีจำนวนของเล่นครึ่งหนึ่งของจำนวนเด็กเพราะที่ทำอย่างนี้เด็กจะได้รู้จักการแบ่งปันและรู้จักการรอคอย
ประเมินตนเอง
ในวันนี้แต่งตัวไม่เรียบร้อยไม่ได้ใส่ชุดสีชมพูแต่ใส่ชุดนักศึกษาไม่เหมือนเพื่อนเพราะว่าไปทำธุระมาค่ะแต่เข้าเรียนตรงเวลาในการเรียนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีและตั้งใจฟังสิ่งที่อาจารย์สอนและจดบันทึกทุกอย่างละเอียดพอสมควรไม่เข้าใจก็ถามและพอาจารย์ถามก็สามารถตอบได้และได้ตัวปั๊มเด็กดีมาอีกด้วย

ประเมินเพื่อน
วันนีเพื่อนแต่งกายเรียบร้อยและตั้งใจเรียนบ้างพอสมควรแต่เวลาจดเพื่อนก็จดตามที่อาจารย์สอนและเพิ่มเติมให้และตั้งใจเรียนเป็นอย่างดีเข้าเรียนตรงเวลาและให้ความร่วมมือในกาทำกิจกรรมดีมากทุกคนและโต้ตอบกับอาจาย์เวลาถามเป็นอย่างดี

ประเมินอาจารย์
อาจารย์เตียมสื่อและอุปกรณ์การสอนต่างๆมาอย่างเตรียมพร้อมแต่งกายเรียบร้อยน่ารักให้ความรู้และเทคนิคต่างๆที่แปลงใหม่และน่าสนใจอยู่เสมอมีการแสดงบทบาทสมมุติให้นักศึกษามองภาพกิจกรรมต่างๆได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น

MixDiary_cat_20.gifMixDiary_cat_20.gifMixDiary_cat_20.gifMixDiary_cat_20.gifMixDiary_cat_20.gifMixDiary_cat_20.gif

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น